เป้าหมาย (Understanding Goal)
เข้าใจและตระหนักถึงความปลอดเห็นในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรวมทั้งสามารถผลิต "ผลิตภัณฑ์" เพื่อใช้เองในครัวเรือนที่เหมาะสมและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind mapping

Mind Mapping



คำถามหลัก :
 นักเรียนจะเลือกใช้และผลิต ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้ปลอดภัย เหมาะสม ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างไร?

ภูมิหลังปัญหา :
เรามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เพราะร่างกาย แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมที่จะทำงานให้เราได้เสมอ อวัยวะของเราแต่ละอย่าง มีประโยชน์ต่อเรา ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่างๆได้ เช่น ตาช่วยมองเห็น จมูกช่วยให้เราได้กลิ่น มือช่วยในการหยิบถือสิ่งของ เป็นต้น รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้และที่อยู่อาศัย ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ การทำความสะอาดและป้องกันอันตรายต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจะไม่เป็นแหล่งสะสมและที่อยู่ของเชื้อโรค เชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียต่างๆ
            เมื่อเราหันมาสนใจตนเอง เราจะพบว่าปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย และทำความสะอาดอื่นๆ มีผลกับร่างกายไม่ว่าสัมผัสโดยตรง หรือโดยอ้อม เช่น ทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นจึงจำเป็นที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกบริโภคสินค้าเหล่านี้ ให้ได้ประโยชน์ และปลอดภัย อีกทั้งเลือกใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้อย่างปลอดภัย เหมาะสมให้กับตนเองและผู้อื่นได้

เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goal) :

เข้าใจและตระถึงความปลอดเห็นความสำภัยในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรวมทั้งสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เองในครัวเรือนที่เหมาะสมและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วย ดูแลเรา ดูแลโลก”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 4 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2558


Week
Input
Process
Output
Outcome
1
11-15
ม.ค.
59
















โจทย์ สร้างแรง/สร้างฉันทะ

Key Question :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
- Round Robin 
- Think Pair Share
- Black board Share
- Mind Mapping
- Card and Chart
- Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- ถ้วย, น้ำมันพืช, กะละมัง น้ำยาล้างจานซันไลต์, ไลปอนเอฟ, เทสโก้
- น้ำขี้เถ้า ถ้วย กระดาษลิตมัส


- นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ครูให้นักเรียนถ้วยทำความสะอาดถ้วย จากกะละมังที่มีน้ำยาล้างจานแต่ละกะละมัง นำไปล้างน้ำสะอาด ดังนี้
             1. น้ำยาล้างจานซัลไลน์
             2. น้ำยาล้างจานไลปอนเอฟ
             3. น้ำยาล้างจานเทสโก้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำยาล้างจานที่ไม่เท่ากัน
- นักเรียนทำน้ำยาล้างจานใช้เองได้จากวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นของเรา (มะนาว และช้อน เพื่อทำผลิตภัณฑ์ล้างจาน)
-       นักเรียนทดลองทำผลิตภัณฑ์ล้างจาน สูตร น้ำขี้เถ้า โดยครูให้สูตรตามที่ได้ค้นหาข้อมูลมา (น้ำขี้เถ้าครูเตรียมไว้ โดยหมัก 3 วันและกรอง)
-       นักเรียนทดลองล้างช้อนที่มีคราบมัน
-       นักเรียนเขียนเรื่องอยากเรียนรู้ ใน Quarter นี้ และให้เหตุผลประกอบ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Card and Chart 
การบ้าน นักเรียนคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ และเขียนสิ่งที่รู้แล้ว และอยากรู้ อย่างละ 2 ข้อ)
-       นักเรียนคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด” โดยผ่านเครื่องมือการคิด Think Pair Share และ Blackboard Share
-       นักเรียนทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-       นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ในกระดาษแผ่นใหญ่
-                     - นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
 (การบ้าน นักเรียนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์เรื่องที่ตนเองอยากเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์)
ชิ้นงาน
- บันทึกผลการทดลองล้างจาน
- Card and Chart หัวข้อที่อยากเรียนรู้
- วาดภาพตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน                                  
- แสดงคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้
-    แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
-    เตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำยาล้างจาน
-    ทดสอบการล้างจานจากน้ำยาล้างจานที่ทำเอง
ความรู้
-    สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-    สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
2
18-22
ม.ค.
59
















โจทย์
-   วางแผนการเรียนรู้
-   ร่างกาย

Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร?
ถ้าไม่ทำความสะอาดร่างกายจะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
-          Brainstorms 
-    Blackboard  Share
-    Round Robin 
-    Jigsaw
-    Place mat
-    Show and Share
-    Wall Thinking 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต

-   นักเรียนโดยผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard  Share และแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ติดในชั้นเรียน

-     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เขียน Place mat ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อยและนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเอง       
-     นักเรียนจับคู่สำรวจร่างกายของเพื่อน
พร้อมวาดรูปร่างกายและเขียนความสะอาดในร่างกาย
-     นักเรียนจับคู่สำรวจร่างกายของเพื่อนหลังทำความสะอาดแล้วพร้อมเขียนบันทึกความสะอาดในร่างกายหลังกลับไปดูแลแล้ว
-     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สืบค้นข้อมูลการไม่ดูแลทำความสะอาดร่างกายส่วนต่างๆ และเขียนวิธีการดูแลร่างกายภายนอก พร้อมนำเสนอ
-        นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
การบ้าน นักเรียนนำสบู่เด็กมาคนละ 1 ก้อนและสอบถามพร้อมจดบันทึกการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านในแต่ละเดือน
ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- ใบงานความสะอาดร่างกายของตนเอง
- Place mat ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
- ใบความรู้วิธีการดูแลร่างกายภายนอก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-    ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
-    ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการดูแลร่างกายภายนอก
-    นำเสนองานที่ได้ค้นคว้ามาให้น่าสนใจ
-    นำสบู่เด็กมาคนละ 1 ก้อน
-    สอบถามพร้อมจดบันทึกการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านในแต่ละเดือน)
ความรู้
-    สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
-    เข้าใจและสามารถอธิบายร่างกายและวิธีการดูแลร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสะอาด อีกทั้งนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
3
25-29
ม.ค.
59
















โจทย์ สบู่

Key Question :
สบู่ที่เราใช้เหมาะสมกับเราหรือไม่อย่างไร?                               
เครื่องมือคิด :
-          Brainstorm 
-    Round Robin 
- Flow chart
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอ  “ขั้นตอนการทำสบู่ How to make Soap” และ “สบู่ก้อนสมุนไพรทำใช้เอง”
- สื่อจริง สบู่เด็ก, กากกาแฟ, ขมิ้น, ดอกอันชัน ฯลฯ
- นักเรียนสังเกตสบู่ที่ตนเองนำมา (การบ้าน) ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับสบู่ของตนเอง?”             
-     ครูให้นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “ขั้นตอนการทำสบู่ How to make Soap
นักเรียนสังเกตส่วนประกอบและวิธีการทำอย่างไรบ้าง
-    ครูให้นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “สบู่ก้อนสมุนไพรทำใช้เอง
-   นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากส่วนประกอบที่เลือกมาทำสบู่สมุนไพรของตน และแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนเขียน Flow chart การทำสบู่ของตนเอง
(การบ้าน นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบมาทำสบู่)
-     นักเรียนลงมือปฏิบัติทำสบู่
-     ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำสบู่ และการทดลองให้สบู่ที่ตนเองได้ทำ รวมทั้งในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว แล้วสบู่ทั้งสองชนิดนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง และเลือกใช้สบู่ต่างๆ อย่างไร เมื่อมีการอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ตามโฆษณา
-     นักเรียนเขียนแผ่นพับสบู่ก้อนและสบู่เหลว การเลือกใช้ ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์
-     นักเรียนทบทวนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
(การบ้าน นักเรียนนำกล่องยาสีกล่องยาสีฟันมากลุ่มละ 1 กล่อง)
ชิ้นงาน
-     Flow chart เขียนวิธีการทำสบู่ของตนเอง
-   สบู่สมุนไพร
-   แผ่นพับสบู่ก้อนและสบู่เหลว การเลือกใช้และข้อควรระวัง                                                                    
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
                                                                                    
ภาระงาน
-   วิเคราะห์และสนทนาเกี่ยวกับความรู้จากคลิปสบู่สมุนไพร
-   ค้นหาและออกแบบการทำสบู่สมุนไพร
-    วิเคราะห์การเลือกใช้สบู่แบบต่างๆ ข้อควรระวัง
ความรู้
-     เข้าใจและสามารถอธิบายส่วนประกอบสำคัญของสบู่ มีการวางแผนและออกแบบการทำสบู่อย่างง่าย โดยนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม
-     ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าประเภทสบู่ได้อย่างเหมาะสมกับตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
4
1-5
ก.พ.
59

โจทย์  ปากและฟัน

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- โรงพยาบาล
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- กล่องยาสีฟันต่างๆ
- สื่อจริง น้ำเกลือ, มะนาว
-     ครูให้นักเรียนสังเกต ยาสีฟันแต่ละยี่ห้อ เหมือนหรือต่างกันย่างไร
-     นักเรียนlสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลช่องปากของคนสมัยก่อน
-     นักเรียนลงมือทำน้ำยาบ้วนปากและทดลองใช้ (จากน้ำเกลือ, มะนาว)  
-     นักเรียนรู้จากสถานที่จริง (โรงพยาบาล) การดูแลสุขภาพในช่องปาก
-     นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนรู้นอกสถานที่ (โรงพยาบาล)  และโรคปากและฟันที่พบเจอจากการไม่ดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นการ์ตูนช่อง
-     รุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบละคร
ชิ้นงาน
-   การ์ตูนช่องความรู้จากการเรียนรู้นอกสถานที่
-   น้ำยาบ้วนปาก
                                                                                   
ภาระงาน
-   ศึกษาการดูแลช่องปากจากโรงพยาบาล
-   วางแผนออกแบบทำน้ำยาบ้วนปากอย่างง่าย
-   วิเคราะห์การเลือกใช้ยาสีฟันแบบต่างๆ ข้อควรระวัง
-   ละครสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-    เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการดูแลช่องปากของตนเอง อีกทั้งสามารถนำภูมิปัญญาดังเดิมของคนสมัยก่อนมาและนำมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
-    สามารถวิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าประเภทยาสีฟันได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
5
8-12
ก.พ.
59
















โจทย์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผม

Key Question :
เราจะทำแชมพูสระผมให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างไรบ้าง?                           
เครื่องมือคิด :
-          Brainstorms 
-    Round Robin 
- Show and Share
-     Flow chart
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- ภาพการไม่ดูแลเส้นผม
และศีษะ
- คลิปวีดีโอ “อันตรายจากแชมพูสระผม”

-   นักเรียนสังเกตรูปภาพคนที่ไม่เคยดูแลเส้นผมเลย และร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น พร้อมให้เหตุผล
-    ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่วนผสมและการทำแชมพูจากส่วนผสมที่มีขายในท้องตลาด
-    นักเรียนทำแชมพูจากสูตรที่ขายตามท้องตลาดและเขียนวิธีการทำแบบ Flow chart รวมทั้งนำแชมพูไปทดลองใช้ที่บ้าน
-    นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “อันตรายจากแชมพูสระผม”
-    ครูให้นักเรียนสังเกต รูปคนที่ไม่ดูแลเส้นผม และนักเรียนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับศีรษะและผม พร้อมนักเรียนนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม
-   นักเรียนทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ และเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ชิ้นงาน
-     Flow chart เขียนวิธีการทำแชมพูตลาด
-   แชมพูสมุนไพร
-   ใบงานออกแบบแชมพู
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
                                                                                    
ภาระงาน
-   วิเคราะห์และสนทนาเกี่ยวกับความรู้จากภาพ
-   ค้นหาและออกแบบการทำแชมพูสระผมสมุนไพร
-    เตรียมอุปกรณ์ในการทำแชมพู
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการดูแลเส้นผมของตนเอง อีกทั้งสามารถนำภูมิปัญญาดังเดิมของคนสมัยก่อนมามาทำแชมพู และนำมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
6
15-19
ก.พ.
59
















โจทย์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผม (ต่อ)

Key Question :
เราจะทำแชมพูสระผมให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างไรบ้าง?                           
เครื่องมือคิด :
-          Brainstorms 
-    Round Robin 
- Show and Share
- Flow chart        
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอ “ยาสระผมสมุนไพรจากมะกรูด”

-    นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “ยาสระผมสมุนไพรจากมะกรูด”

-   นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีทำและประโยชน์ที่ได้จากส่วนประกอบสมุนไพร
และนักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 ออกแบบการทำแชมพูของตนเอง
การบ้าน นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบมาทำแชมพูจากธรรมชาติ
-   นักเรียนทำแชมพู จากสูตรที่ได้เตรียมไว้และทดลองใช้
-   ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
การบ้าน นักเรียนแบ่งกลุ่มนำกะละมังมาในวันจันทร์ สัปดาห์ถัดไป กลุ่มละ 3 ใบ
ชิ้นงาน
-     Flow chart เขียนวิธีการทำแชมพูตลาด
-   แชมพูสมุนไพร
-   ใบงานออกแบบแชมพู
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
                                                                                   
ภาระงาน
-   วิเคราะห์และสนทนาเกี่ยวกับความรู้จากภาพ
-   ค้นหาและออกแบบการทำแชมพูสระผมสมุนไพร
-    เตรียมอุปกรณ์ในการทำแชมพู
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการดูแลเส้นผมของตนเอง อีกทั้งสามารถนำภูมิปัญญาดังเดิมของคนสมัยก่อนมามาทำแชมพู และนำมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
7
22-26
ก.พ.
59
















โจทย์ เสื้อผ้า

Key Question :
เราสามารถสร้างทางเลือกอื่นในการดูแลความสะอาดเสื้อผ้าได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง?                               
เครื่องมือคิด :
-     Brainstorms
-     Round Robin 
-     Jigsaw
-   Show and Share  
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอ “โฆษณาโบราณสุดคลาสสิกผงซักฟอกแฟบ”
- นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “โฆษณาโบราณสุดคลาสสิกผงซักฟอกแฟบ” พร้อม พร้อมสนทนาแลกเปลี่ยนชื่อหรือไม่ว่าผงซักฟอก มีประสิทธิภาพเหมือนในโฆษณา           
-    นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทดลองประสิทธิภาพของผงฟอกจากคราบ น้ำปลา ซอส สี และปากกา พร้อมสรุปผลการทดลองของตนเอง
-    ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการขจัดคราบโดยไม่ใช้ผงซักฟอก
-   นักเรียนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และออกแบบการทดลองและวางแผนเตรียมอุปกรณ์ทดลอง (การบ้าน นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ทดลอง)
-   นักเรียนทดลองและนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆ ชม
-   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเมื่อเราสิ่งที่ขจัดคราบแทนผงซักฟอกได้ ทำไมเราจึงยังใช้ผงซักฟอกอยู่ และผงซักฟอกมีส่วนผสมสำคัญอะไรบ้าง มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง        
-   นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน และเขียนชาร์ตความรู้
-   ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อม
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ชิ้นงาน
-   สรุปผลการทดลองซักผ้า
-   การขจัดคราบต่างๆ โดยไม่ใช้ผงซักฟอก
-   ประโยชน์และโทษจากผงซักฟอก
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
                                                                                   
ภาระงาน
-   วิเคราะห์และสนทนาเกี่ยวกับความรู้จากคลิปโฆษณาชวนเชื่อ
-   ค้นหาและออกแบบการทดลองขจัดคราบโดยไม่ใช้ผงซักฟอก
-   เตรียมอุปกรณ์ทดลองซักผ้า
ความรู้
เข้าใจและอธิบายส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ซักผ้า สร้างทางเลือกในการกำจัดคราบสกปรกบนเสื้อผ้าได้ อีกทั้งสามารถบอกประโยชน์และโทษจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า รวมทั้งเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม

8
29 ก.พ.
4 มี.ค.
59
















โจทย์ พื้นผิว

Key Questions :
นักเรียนจะสร้างทางเลือกในการทำความสะอาดพื้นผิวอย่างไรได้บ้าง?                                  
เครื่องมือคิด :
-          Brainstorms 
-    Round Robin 
-    Show and Share          
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต

-   ครูให้นักเรียนสังเกต ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว เช่น น้ำยาขัดห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
-   นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ทดลองทำน้ำยาถูพื้นจากส่วนผสมในท้องตลาด
(การบ้าน นักเรียนนำมะกรูดหรือเปลือกผลไม้ น้ำตาลทรายแดง และขวดสำหรับใส่)
-   ครูเปิดคลิปการทำน้ำหมักชีวะภาพให้นักเรียนสังเกต พร้อมนักเรียนค้นหาส่วนประกอบและวิธีการทำอย่างไรบ้าง
-   นักเรียนลงมือทำน้ำหมัก พร้อมเขียนสรุปวิธีการทำและปัญหาขณะทำน้ำยาถูพื้นและน้ำหมัก
-    ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนา ถ้าในบ้านของเราไม่มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวจะทำอย่างไรได้บ้าง ใช้อะไรทดแทนได้?” (พื้นไม้ พื้นกระเบื้อง พื้นกระจกและชักโครก พร้อมนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ค้นคว้ามา
-    ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อม
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ชิ้นงาน
นิทานช่องการดูแลความสะอาดบ้าน
น้ำหมักชีวภาพจากมะกรูด
- การขจัดคราบต่างๆ โดยไม่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวในท้องตลาด
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์                                                        
ภาระงาน
-   ค้นหาวิธีทำความสะอาดคราบต่างๆ บนพื้นผิว
-   สำรวจคราบต่างๆ บริเวณภายในอาคารเรียนและดูแลความสะอาดบริเวณนั้น
-   วิเคราะห์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวแบบต่างๆ และข้อควรระวัง
ความรู้
-     เข้าใจและสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว อีกทั้งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้เหมาะสมได้
-     สามารถบอกประโยชน์ โทษ ข้อควรระวังและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรงได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย           
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
9
7 - 11
มี.ค.
59
















โจทย์ เครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์

Key Questions :
- เครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดแต่ละอย่างสำคัญอย่างไรบ้าง?
- นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตนเองได้อย่างไรบ้าง?                         
เครื่องมือคิด :
-     Brainstorms 
-     Round Robin 
- Show and Share
- ชักเย่อความคิด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- แท็ปเล็ต
- อินเตอร์เน็ต
- ซองบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน
-     ชักเย่อความคิด เครื่องหมายรักโลกบนฉลากสินค้าเป็นจริงหรือไม่                
-     ครูให้นักเรียนสังเกตบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น (น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ ฯลฯ
-     ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นบนบรรจุภัณฑ์ และความหมายของสิ่งนั้น พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และเขียนชาร์ตความรู้ที่ได้ค้นหามา
-     นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้ค้นหาข้อมูลให้คุณครูและเพื่อนๆ ฟัง และซักถามเพื่อความเข้าใจ
-     นักเรียนออกแบบนิทรรศการให้พี่ๆ น้องๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน
-    ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อม เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์

ชิ้นงาน
-     ชาร์ตความรู้จากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ    
-     สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอความรู้
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
                                                                                   
ภาระงาน
-   วิเคราะห์และสนทนาเกี่ยวกับเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ
-    ออกแบบนำเสนอความรู้ที่ได้เรียนมา
ความรู้
-     เข้าใจและสามารถอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ได้
-     สามารถเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
10
14 - 18
มี.ค.
59
















โจทย์ สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

Key Questions :
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ ดูแลโลก ดูแลเรา ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไรบ้าง?
- สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนามีอะไรบ้าง?
เครื่องมือคิด
-         Brainstorms
-         Round Robin
-         Card and Chart  
-         Show and Share
-         Mind Mapping

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน
บรรยากาศ/สื่อ :
บรรยากาศในห้องเรียน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา และสรุปองความรู้  หลังเรียน Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย ตามความสนใจ
-     นักเรียนออกแบบการนำเสนอองค์วามรู้บูรณาการหน่วย ดูแลเรา ดูแลโลก
-     เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-     นักเรียนร่วมกันซ้อมการแสดงเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใน Quarter นี้
-     นักเรียนเขียนประเมินตนเองสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
-     ครูและนักเรียนทบทวนความรู้ในสัปดาห์นี้ และนักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน
- จัดนิทรรศการเผยแพร่สรุปองค์ความรู้

ชิ้นงาน
- Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุง
- นิทรรศการเผยแพร่สรุปองค์ความรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหน่วย ดูแลเรา ดูแลโลก ให้ผู้อื่นเข้าใจ ชี้ให้เห็นคุณค่า สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

แผนผังมโนทัศน์


ตารางวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “ดูแลเรา ดูแลโลก”
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 4 ภาคเรียนที่ 2/2558


สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
สร้างฉันทะ/วางแผนการเรียนรู้
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน







มาตรฐาน ว 1.2
อธิบายลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว (ว1.2 3/1)
มาตรฐาน  ว 2.2
-    ระบุการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  (ว2.2 3/2)
-    อภิปรายและนำเสนอเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
 (ว2.2 3/3)
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ (ว 8.1  ป.3/1)
- วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง กลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน (ว 8.1 ป3/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข
(ว 8.1ป.3/5)
- เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้
(ว 8.13/6)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา สิ่งที่อยากเรียนรู้ปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 3/8)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในโรงเรียนและในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส2.2 3/1)
มาตรฐาน ส 4.1
- บอกวันเดือนปีและสามารถนับช่วงเวลาตามปฏิทินเพื่อใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- ลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียนและชุมชนโดยระบุหลักฐานและแหล่งที่มาได้
(ส4.1 3/1)


มาตรฐาน ง 1.1
อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองครอบครัวและส่วนรวม
(ง1.1 3/1)
มาตรฐาน ง 2.1
เลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
(ง2.1 3/1)




มาตรฐาน พ 3.1จัดรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานและควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวตามแบบที่กำหนด (พ3.1 5/1)
มาตรฐาน  พ 5.1
ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง แสดงความช่วยเหลือบุคคลอื่นๆเมื่อเกิดเหตุร้ายหรืออุบัติเหตุแสดงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บจากการเล่นหรือเหตุการณ์อื่นๆ (พ5.1 3/1-3)

มาตรฐาน ศ 1.1
- ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างผลงานได้
- วาดภาพระบายสีชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- วาดภาพถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อผ่าน เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ได้
(ศ1.1 2/4-5)

มาตรฐาน ส 2.1
บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(ส2.1 3/2)
จุดเน้นที่ 3
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่3.1 3/1)
การดูแลร่างกายและโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลร่างกาย
-   ผมและศีรษะ
-   มือและเท้า
-   ตัว
-   ปากและฟัน
การดูแลและไม่ดูแลทำความสะอาดอื่นๆ
-   พื้นผิวกระเบื้อง
-   ไม้
-   กระจก
-   จานชาม
-   เสื้อผ้า
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ
(ว 8.1  ป.3/1)
- วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง กลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน (ว 8.1 ป3/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข (ว 8.1ป.3/5)
- เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้
(ว 8.13/6)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา สิ่งที่อยากเรียนรู้ปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 3/8)
มาตรฐาน ส 3.1
-     จำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการดำรงชีวิต
(ส3.1 3/1)
วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเองได้
(ส3.1 3/2)
-     อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมีผลต่อการผลิตผลิตผลิตภัณฑ์
 (ส3.1 3/3)

มาตรฐาน ส 4.2
เปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างของวัฒนธรรมการใช้สินค้าเพื่อความสะอาดของชุมชนตนเองและชุมชนอื่นๆ (ส4.2 3/3)
มาตรฐาน ง 1.1
-  ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงานในการทำชิ้นงานให้น่าสนใจ  
(ง1.1 3/2)
-     เข้าใจธรรมชาติของท้องถิ่นสามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอนมีจินตนาการและความคิดอย่างมีระบบในการทำงาน
(ง1.1  3/3)

มาตรฐาน พ 1.1
-   อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ (พ1.1 3/1)
-   เปรียบเทียบการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานกับตนเอง
(พ1.1 3/2)
-   ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ดูแลร่างกาย
(พ1.1 3/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
- ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างผลงานได้
- วาดภาพระบายสีชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- วาดภาพถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อผ่าน เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ได้
(ศ1.1 2/4-5)

มาตรฐาน ส 2.1
บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(ส2.1 3/2)
จุดเน้นที่ 3
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่3.1 3/1)
การออกแบบและผลิตผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป
-   สบู่
-   แชมพูสระผม
-   น้ำยาถูพื้น
การออกแบบและผลิตผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
-   น้ำยาล้างจาน
-   สบู่
-   น้ำยาบ้วนปาก
-   แชมพูสระผม
-   น้ำยาถูพื้น


มาตรฐาน ว 2.2
สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนแล้วอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนที่สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด พร้อมทั้งใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
(ว 2.2 3/1-3)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ทั่วไปและธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้และนำเสนอองค์ความรู้ (ว8.1 3/1)
มาตรฐาน ส 3.1
อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมีผลต่อการผลิตผลิตผลิตภัณฑ์
 (ส3.1 3/3)
มาตรฐาน ส 5.1
ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในชุมชน
(ส5.2  3/5)



มาตรฐาน  ส 4.1
แสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญของชุมชนชุมชนที่มีการผลิตผลิตผลิตภัณฑ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(ส4.1 3/2)


มาตรฐาน ง 1.1
-  ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงานในการทำชิ้นงานให้น่าสนใจ  
(ง1.1 3/2)
-     เข้าใจธรรมชาติของท้องถิ่นสามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอนมีจินตนาการและความคิดอย่างมีระบบในการทำงาน
(ง1.1  3/3)
มาตรฐาน  พ 1.1
เข้าใจธรรมชาติการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์เชื่อมโยงสู่การผลิตผลิตผลิตภัณฑ์ได้
(พ1.1 3/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
-   บรรยายรูปร่างรูปทรง ได้รวมทั้งออกแบบชิ้นงานของตนเองได้
(ศ1.1 3/1)
-   สามารถวาดภาพ ระบายสีผลิตภัณฑ์ โดยใช้เส้น รูปร่าง สี และพื้นผิวได้ รวมทั้งออกแบบชิ้นงานของตนเองได้ (ศ1.1  3/6)
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวได้
(ส2.1 3/1)

ประโยชน์และโทษจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
-    ต่อตนเอง
-    ต่อสิ่งแวดล้อม
-    ต่อเศรษฐกิจ
(ต่ออุตสาหกรรมครัวเรือน)






มาตรฐาน ว 3.1
สามารถจำแนกคุณสมบัติของผลิตผลิตภัณฑ์ แต่ละชนิดพร้อมบอกวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ แต่ละชนิดได้อีกทั้งสามารถเลือกใช้การผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมกับงานต่างๆได้
(ว3.1 3/1-2)


มาตรฐาน ส 3.1
สามารถจำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของตนเองครอบครัวและชุมชนในการเลือกซื้อที่เหมาะสมแต่ละชุมชนอีกทั้งใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
 (ส 3.1 3/1-3)
มาตรฐาน ส 2.1
อธิบายการเลือกใช้ การผลิต ผลิตภัณฑ์ ของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(ส2.1 3/2)

มาตรฐาน ง 1.1
เข้าใจกระการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะการจัดการข้อมูลทักษะการแก้ปัญหาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้และมีเจตคติที่ดีในการทำงาน
(ง1.1 3/1)
มาตรฐาน  พ 1.1
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม พื้นที่ และให้ถูกหลักอนามัยอยู่เสมอ (พ1.1 3/3)

มาตรฐาน ศ 1.1
- สามารถวาดภาพระบายสีสิ่งของรอบตัวได้
- สามารถวาดภาพ อุปกรณ์ วิธีทำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยใช้เส้นรูปร่างสีและพื้นผิวได้
(ศ1.1 3/1 3/6)
จุดเน้นที่ 3
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่ 33.1 3/1)

สรุปหน่วยการเรียนรู้
- เผยแพร่ความเข้าใจสู่ผู้อื่น
- Mind Mapping
-สรุปองค์ความรู้หลังการเรียน
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ประเมินตนเองสิ่งที่ดีแล้ว/สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม







มาตรฐาน ว 2.1
สามารถอธิบายสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเองพร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้
(ว2.1 3/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- วางแผนการสังเกตเสนอวิธีตรวจสอบศึกษาวิธีค้นคว้าโดยใช้ความคิดของตนเอง
(ว8.1 3/2)
- เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบบันทึกข้อมูล (ว8.1 3/3)
- สามารถบันทึกและอธิบายผลการสังเกตสำรวจตรวจสอบโดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆในการสรุปองค์ความรู้ได้ (ว8.1 3/6)
- สามารถเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ว8.1 3/7)
มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง กติกา กฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(ส2.1 3/1)
- เคารพสิทธิของตนเองและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นในการทำงานร่วมกัน
(ว2.1 3/4)



มาตรฐาน ส 4.1
เรียงลำดับเหตุการณ์และกระบวนการเรียนรู้เรื่องดูแลโรค ดูแลเรา ได้อย่างเป็นระบบ (ส4.1 3/2)



มาตรฐาน  ง 1.1
- สามารถบอกวิธีทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองในการสรุปองค์ความรู้ได้
(ง1.1 3/1)
- สามารถทำงานของตนเองอย่างกระตือรือร้นและตรงต่อเวลาได้
(ง1.1 3/3)
มาตรฐาน  ง 2.1
มีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ (ง2.1 3/3)
มาตรฐาน  ง 3.1
ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ
(ง3.1 3/1)

มาตรฐาน พ 2.1
สามารถระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกกลุ่มได้
(พ2.1 3/1)
มาตรฐาน พ 3.1
สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงในการทำงานกลุ่มได้ (พ2.1 3/2)


มาตรฐาน ศ 1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 3/4)
-   มีทักษะพื้นฐานในการใช้อุปกรณ์ต่างๆได้
(ศ 1.1 3/5)
มาตรฐาน ศ 2.1
ร้องเพลงดนตรีง่ายๆเกี่ยวกับการดูแลร่างกายได้
(ศ 1.1 3/4)

มาตรฐาน ส 2.2
- เข้าใจและสามารถระบุบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ส2.2 3/2)
-    มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการตัดสินใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(ส2.2 3/3)





1 ความคิดเห็น: