เป้าหมาย (Understanding Goal)
เข้าใจและตระหนักถึงความปลอดเห็นในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรวมทั้งสามารถผลิต "ผลิตภัณฑ์" เพื่อใช้เองในครัวเรือนที่เหมาะสมและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

Week1

หน่วยการเรียนรู้ 
เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนเกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้ “คลีน” สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเอง อยากเรียนรู้ได้ อีกทั้งสามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสมกับตนเองได้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
11-15
ม.ค.
59
















โจทย์ สร้างแรง/สร้างฉันทะ

Key Question :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับความปลอดภัยจากน้ำยาล้างจาน
- ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีทำน้ำยาล้างจานจากขี้เถ้า 
·  Round Robin 
 - แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดสอบน้ำยาล้างจานที่ทำขึ้นเอง
·  Think Pair Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·  Black board Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·  Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
·  Card and Chart เรื่องที่อยากเรียนรู้
·     Wall Thinking ติดชิ้นงาน ป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- น้ำขี้เถ้า ถ้วยกระดาษลิตมัส
- ถ้วย, น้ำมันพืช, กะละมัง น้ำยาล้างจานซันไลต์, ไลปอนเอฟ, เทสโก้


วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-        นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ครูให้นักเรียนถ้วยทำความสะอาดถ้วย จากกะละมังที่มีน้ำยาล้างจานแต่ละกะละมัง
             1. น้ำยาล้างจานซัลไลน์
             2. น้ำยาล้างจานไลปอนเอฟ
             3. น้ำยาล้างจานเทสโก้
นำไปล้างน้ำสะอาด
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง คิดว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้?”
เชื่อม :
-        นักเรียนเขียนบันทึกความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็น และเปรียบเทียบผลจากการทำลอง ล้างถ้วยทั้ง 3 กะละมัง      
-        ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและสาเหตุที่ทำให้ถ้วยสะอาดขึ้น
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจานชามที่เราล้างสะอาดนั้น ปลอดภัยกับเราจริงหรือไม่ อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความสะอาดและปลอดภัยจากน้ำยาล้างจาน
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ทำไม่น้ำยาล้างจานแต่ละยี่ห้อราคาไม่เท่ากัน?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำยาล้างจานที่ไม่เท่ากัน
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เราสามารถทำน้ำยาล้างจานใช้เองได้หรือไม่ วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นของเราอะไรบ้างน้ำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างจานได้บ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจาน และวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นที่ทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างจานได้
การบ้าน นักเรียนเตรียม มะนาว และช้อน เพื่อทำผลิตภัณฑ์ล้างจาน
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตกระดาษลิตมัส พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง”
เชื่อม :
-       ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกระดาษลิตมัส
-       ครูและนักเรียนทดสอบการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสเมื่อมีความเป็นกรด กลาง และเบส        
ชง : ครูให้ตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “จากวัสดุดิบและอุปกรณ์(การบ้าน มะนาว ช้อน) นักเรียนคิดว่าจะสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างจานได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
-       ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างจานจากวัสดุดิบและอุปกรณ์ที่มีอยู่
-       นักเรียนทดลองทำผลิตภัณฑ์ล้างจาน สูตร น้ำขี้เถ้า โดยครูให้สูตรตามที่ได้ค้นหาข้อมูลมา (น้ำขี้เถ้าครูเตรียมไว้ โดยหมัก 3 วันและกรอง)
-       นักเรียนทดลองล้างช้อนที่มีคราบมัน
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
-         “นักเรียนพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใดบ้างในชีวิตประจำวัน และนักเรียนมีวิธีการเลือกใช้อย่างไรบ้าง?”
-         นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยกับตนเอง?”      
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด การเลือกใช้ และความปลอดภัย
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดบ้าง?”
ใช้ : นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ ใน Quarter นี้ และให้เหตุประกอบ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Card and Chart 
การบ้าน นักเรียนคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ “คลีน”และเขียนสิ่งที่รู้แล้ว และอยากรู้ อย่างละ 2 ข้อ)

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง ) 
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อนั้น?”
เชื่อม :
-       นักเรียนคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด” โดยผ่านเครื่องมือการคิด Think Pair Share และ Blackboard Share
-       ครูและนักเรียนทบทวนการบ้านสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ร่วมกัน    
ใช้ :
-       นักเรียนทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-       นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ในกระดาษแผ่นใหญ่
-                     
วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
ใช้ : นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-       “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-       “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-       “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
(การบ้าน นักเรียนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์เรื่องที่ตนเองอยากเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์)
ชิ้นงาน
- บันทึกผลการทดลองล้างจาน
- Card and Chart หัวข้อที่อยากเรียนรู้
- วาดภาพตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน                                  
- แสดงคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้
-    แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
-    เตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำยาล้างจาน
-    ทดสอบการล้างจานจากน้ำยาล้างจานที่ทำเอง
ความรู้
-    สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-    สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายในการทำน้ำยาล้างจานและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำได้
- ทดลอง ผลิตน้ำยาล้างจานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำน้ำยาล้างจาน
- มีความยืดหยุ่นต่อการทดลอง การทำน้ำยาล้างจาน เพื่อให้แก้ปัญหาที่หลากหลาย
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนปฏิทินและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์น้ำยาล้างจานที่หลากหลาย และหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทดลองและทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  หัวข้อหน่วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและแตกต่าง 
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

ภาพกิจกรรม


 
 


 
 


 
 

ภาพชิ้นงาน  
 
    
 
 


 
 


 
 

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนพี่ๆ สังเกตเห็นในชั้นเรียนมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหลายอย่างอยู่ในห้อง เมื่อถึงเวลาเรียนคุณครูให้พี่ๆ ทดสอบการล้างถ้วยที่มีคราบน้ำมันติดอยู่ โดยไม่ได้บอกว่าเป็นน้ำยาล้างจานยี่ห้อไหน พี่ๆ ได้ลองสัมผัส ดมกลิ่น และเลือกว่าถ้วยใบไหนสะอาดกว่ากันจากความรู้สึกของตนเอง และตอนสุดท้ายครูจึงบอกว่าเป็นยี่ห้ออะไร ซึ่งแต่ละคนความคิดไม่เหมือนกัน ซึ่งจากการทดลองนี้คุณครูนำไปสู่การเปรียบเทียบราคา กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และพี่ๆ ก็ให้เหตุผลว่า แพงไม่ได้ดีเสมอไป และคุณครูให้การบ้าน นำมะนาว และช้อนมาคนละ 1 คัน วันอังคาร ครูพาพี่ๆ ทดสอบความเป็นกรด กลาง ด่าง จากส่วนผสมที่จะทำน้ำยาล้างจาน พี่โอ๊ต “ผมจำได้กระดาษนี้คุณครูพาทำตอนทดลอง ป.๒” ครูจึงถามต่อ “ถ้ากระดาษเปลี่ยนเป็นสีแดงแสดงว่าอะไรคะ” พี่ๆ บอกว่าเป็นกรด ถ้าสีไม่เปลี่ยนเป็นกลาง และม่วงอมน้ำเงินเป็นด่าง จากนั้นคุณครูอธิบายเพิ่มเติม และพี่ๆ ทำน้ำยาล้างจานจากน้ำขี้เถ้า ทดสอบความเป็นกลาง และน้ำมาล้างช้อนที่เปื้อนคราบน้ำมัน หลังจากพูดคุยกัน พี่ๆ เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ ซึ่งพี่ๆ เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และบอกเหตุผล อยากทำเป็น อยากรู้ว่าทำอย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่ คุณครูให้การบ้านพี่ๆ คิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ และสิ่งที่อยากรู้และรู้แล้วมา และพูดคุยในวันพฤหัสบดี ได้ชื่อหน่วยว่า “ดูแลเรา ดูแลโลก” ซึ่งหมายถึงการดูแลตัวเราเองให้สะอาดและดูแลสิ่งรอบๆ ตัวด้วย และคุณครูให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ที่ทุกคนเขียนมาเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน
    วันศุกร์ พี่ๆ เขียนความรู้ก่อนเรียนของตนเองและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์ อีกทั้งใช้เวลาว่างเขียนป้ายชื่อหน้าชั้นเรียนและสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ใส่กระดาษแผ่นใหญ่

    ตอบลบ