เป้าหมาย (Understanding Goal)
เข้าใจและตระหนักถึงความปลอดเห็นในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรวมทั้งสามารถผลิต "ผลิตภัณฑ์" เพื่อใช้เองในครัวเรือนที่เหมาะสมและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

Week2

หน่วยการเรียนรู้ 
 เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสมกับตนเองได้ อีกทั้งสามารถอธิบายความร่างกายและวิธีการดูแลร่างกายเพื่อให้ร่างกายสะอาด รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์

Week
Input
Process
Output
Outcome
2
18-22
ม.ค.
59
















โจทย์
-   วางแผนการเรียนรู้
-   ร่างกาย

Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร?
ถ้าไม่ทำความสะอาดร่างกายจะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรบ้าง?
                                    
เครื่องมือคิด :
·     Brainstorm ระดมความคิดร่วมกันสิ่งที่รู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นี้
·     Blackboard  Share วางแผน
ปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกัน
· Round Robin 
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกัน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการดูแลร่างกาย
·  Jigsaw เขียนวิธีการดูแลร่างกายภายนอก
·  Place mat ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
·  Show and Share
-   นำเสนอผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
-   นำเสนอวิธีการดูแลร่างกายภายนอก
·    Wall Thinking 
-   ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
-   วิธีการดูแลร่างกายภายนอก
         
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต

วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา (การบ้าน วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ 10 สัปดาห์ของแต่ละคน)       
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ทั้ง 10 สัปดาห์ร่วมกันอย่างไรให้น่าสนใจ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นการออกแบบปฏิทินร่วมกัน โดยผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard  Share
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ติดในชั้นเรียน
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้
ใช้ : นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายส่วนไหน อะไรมากที่สุดตามลำดับ?”
เชื่อม :
-     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เขียน Place mat ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
-    นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเอง       
วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “ถ้านักเรียนไม่ดูแลความสะอาดอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม :
-     ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดเมื่อเราไม่ดูแลร่างกาย
-     นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม 
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เขียนวิธีการดูแลร่างกายภายนอก พร้อมนำเสนอ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-       “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-       “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-       “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
(การบ้าน นักเรียนนำสบู่เด็กมาคนละ 1 ก้อนและสอบถามพร้อมจดบันทึกการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านในแต่ละเดือน)
ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- Place mat ผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย
- ใบความรู้วิธีการดูแลร่างกายภายนอก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-    ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
-    ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการดูแลร่างกายภายนอก
-    นำเสนองานที่ได้ค้นคว้ามาให้น่าสนใจ
-    นำสบู่เด็กมาคนละ 1 ก้อน
-    สอบถามพร้อมจดบันทึกการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านในแต่ละเดือน)
ความรู้
-    สามารถออกแบบและวางแผนสิ่งที่ตนเองอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
-    เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการดูแลร่างกายและวิธีการดูแลร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสะอาด อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ในการค้นหาข้อมูลและสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์ ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานใบความรู้วิธีการดูแลร่างกายได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย
สามรถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาขณะทำงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการค้นหาและสร้างชิ้นงานชาร์ตความรู้ และทำงานกลุ่มได้ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเองค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อนำเสนองานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
-    สืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด ถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต
-    จัดการข้อมูลที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

ภาพกิจกรรม








ภาพชิ้นงาน 







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 2 พี่ๆ ป.3 ทบทวนการบ้านที่ลองออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ของตนเองมา และนำมาออกแบบร่วมกัน โดยครูช่วยจัดหมวดหมู่ว่า แต่ละสัปดาห์จะเรียนรู้อะไรบ้าง โดยนำกิจกรรมที่พี่ๆ ได้เขียนมาลงในปฏิทินการเรียนรู้ของห้อง จากนั้นพี่ๆ แบ่งกันเขียนในแต่ละสัปดาห์
    วันอังคาร พี่ๆ .ใช้เครื่องมือคิด Place mat ในการเขียนผลิตภัณฑ์และร่างกายส่วนที่ทำความสะอาดมากไปหาน้อย จากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดของตน เมื่อพี่ๆ ได้รู้จักตัวเองจากการสำรวจการใช้ผลิตภัณฑ์ ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการติดต่อ “แล้วความสะอาดร่างกายของพี่ๆ เป็นอย่างไรบ้าง” พี่ๆ จับคู่กันเพื่อสำรวจความสะอาดของร่างกายเพื่อน และจะสำรวจอีกครั้งหลังพี่ๆ ดูแลแล้วในวันถัดไป
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ ได้สำรวจร่างกายให้เพื่อนอีกครั้ง และบันทึกลงในกระดาษแผ่นเดิมในวันอังคารที่ผ่านมา
    วันศุกร์ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนไม่ดูแลทำความสะอาดร่างกาย จะเกิดผลอย่างไรหรือมีโรคอะไรตามมากับตนเองบ้าง” วันนี้พี่ๆ ได้แบ่งกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มค้นหา การไม่ดูแลส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ผม หู ผิวหนัง ฯลฯ
    เช่น กลุ่มพี่ฟีฟ่า “ไม่ดูแลศีรษะ หัวเหม็น มีเหา มีรังแคค่ะ”
    กลุ่มพี่บิว “ไม่ดูแลเล็บ เล็บเน่า เล็บขบ เป็นแหล่งเชื้อโรครับ”
    จากนั้นครูและพี่ๆ ได้ทบทวนกิจกรรมที่ทำมาทั้งสัปดาห์ และพี่ๆ ได้สรุปสัปดาห์โดยใช้การตั้งคำถาม และตอบคำถามของตนเอง

    ตอบลบ